Week1


นับตั้งแต่วันปิดQuarter 1 จนถึง สัปดาห์แรกของการเปิด Quarter 2

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม 2559
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ของการปิดเรียน Quarter แรก คุณครูต้องเตรียมทำแผนสำหรับ Qaurter 2 ซึ่งบางห้องได้โจทย์ใหม่สำหรับการจัดการเรียนรู้ PBL  ป.1 เกี่ยวกับการงอกของเมล็ด  ป.4 Who Am I  ป.5 หนังสั้น ส่วน ป.3 และ ป.6 เป็นโจทย์เดิมซึ่งก็คือ หน่วยผ้า และหน่วยป่า ตามลำดับ ซึ่งคุณครูแต่ละคน หลังจากได้รับโจทย์ก็วพยายามทำงานของตัวเองตามศักยภาพ และใน Quarter  2 ต้องย้ายห้องไปประจำที่ห้อง ป.3 และต้องลองเขียนแผนด้วย เริ่มต้นทำจากใบปะหน้า ก่อนอื่น คือ ต้องพยายามตีโจทย์ ตีความหน่วยผ้าให้ออกว่าจะเน้นที่วิชาไหนเป็นหลัก ซึ่งตามความคิดของตัวเอง คิดว่า น่าจะเน้นไปที่การงาน ซึ่งคุณครูรุ่นพี่หลายๆคนก็บอกว่าแล้วแต่เรา แต่สิ่งที่จะมุ่งเน้นสอนตามคนที่คิดหน่วยน่าจะเป็นกลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา แต่หลายๆคนก็แนะนำให้คิดเอง ไม่ต้องพยายามคิดให้ออกแต่ให้ทำอย่างอื่นไปเดี๋ยวมันจะออกมาเอง อันนี้ก็มีคนบอกมา เนื่องจากอาศัยทฤษฎีที่ตัวเองเคยทำมา ซึ่งมันก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่เราก็ต้องนำเสนอพรุ่งนี้แล้วก็ไม่รู้จะต้องรอให้ตัวเองคิดออกตอนไหน  ตอนอยู่ในห้องน้ำก็พยายามกระตุ้นความคิดของตน พอคิดไปคิดมาก็นอนหลับไป ด้วยความล้าทั้งร่างกายและสมอง

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2559
 เป็นวันนำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ที่คุณครูทุกคน เนื่องจากในตอนกลางคืนคิดอะไรไม่ออกพอมาตอนเช้าเหมือนจะคิดอะไรออกนิดหน่อย จึงต้องรีบเรียบเรียงออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรถึงแม้ว่า สิ่งที่คิดออกมาอาจจะไม่ไขสมองให้ปิ๊งซะทีเดียวแต่ก็ยังมีเค้าโครงของความถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริง ซึ่งก็มีความพร้ออมระดับหนึ่งสำหรับการนำไปแชร์ในวงประชุม บรรยากาศการแชร์เป็นแบบสบายๆ มีข้อบกพร่องหรือควรแก้ไขตรงไหนก็ช่วยเพิ่มเติมกัน  โดยการเขียนเพิ่มเติมในกระดาษโน๊ตแผ่นเล็กๆ เป็นคำแนะนำและประเด็นที่อยากให้แก้ไขเพื่อเป็นการกระชับเวลา แต่จาก ป.1-ป.6 ก็กินเวลาตั้งแต่ 9 โมงเช้า ไปจนถึงสี่โมงเย็นเหมือนกัน แล้วช่วงเวลาหลังจากนี้ทุกคนก็ต้องแก้ไขงานและเพิ่มเติมตามประเด็นที่ได้รับคำแนะนำให้เพิ่มเติมมา ในส่วนของนักศึกษาฝึกสอนก็ต้องเคลียร์งานให้เสร็จเพื่อเตรียมเดินทางกลับมหาวิทยาลัยเพื่อไปร่วมสัมมนา ในส่วนของการแก้ไขงานของตนเองคิดว่าเหลือไม่มาก คิดว่าถึงบ้านแล้วค่อยส่งไฟล์ให้คุณครู แต่มันเป็นความคิดที่ผิดมาก ตามจริงเรื่องการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ถ้าไม่ได้เจอหน้ากันไม่ได้เห็นความเคลื่อนไหวในการทำงานก็ต้องมีงานที่มีความคืบหน้าให้ดู เพื่อความสบายใจทั้งสองฝ่ายที่ทำงานร่วมกัน และเพื่อความคืบหน้าในการพัฒนางาน

วันพุธที่ 3 สิงหาคม 2559
เป็นช่วงเวลาของการเดินทางที่แสนยาวนานนอกจากจะเดินทางจากบุรีรัมย์จนถึงอุบลราชธานี รวมๆแล้วสี่ชั่วโมงกว่าๆและเดินทางต่อไปที่บ้านของตัวเองอีกสองชั่วโมง ด้วยความที่คิดว่าตัวเองมีความแม่นยำ ในการขึ้นรถแต่ละคันจึงไม่ได้ดูว่าคนคันที่ขึ้นกำลังจะเข้าเมืองงไม่ได้จะมุ่งหน้ากลับบ้าน จึงคลาดรถรอบที่จะทำให้ถึงบ้านเร็วๆ ต้องนั่งรออีกประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อรอรถรอบสุดท้ายที่จะกลับบ้าน  ซึ่งช่วงตอนที่นั่งรอรถก็ได้คุยกับคุณน้าคนหนึ่งซึ่งเขาก็ถามไถ่ว่าไปไหนมา  แล้วพอเขารู้ว่าเราเป็นนักศึกษาฝึกสอน คุณน้าก็เลยเล่าเรื่องครูและนักเรียนสมัยก่อนให้ฟัง คุณน้าบอกว่าสมัยนี้มีโครงการครูคืนถิ่นทำให้ครูที่สอนในโรงเรียนแถวบ้านก็เป็นคนที่อาศัยอยู่กับหมู่บ้านนั้น ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ครูที่สอนอยู่อุบลฯก็มาจากที่อื่น มาจากอุดรฯบ้าง แล้วก็ต้องอยู่บ้านพักครู เวลาวันหยุดหรือช่วงหลังเลิกเรียนนักเรียนก็จะไปรับจ้างหาบน้ำมาเทใส่ตุ่มให้ครู ได้หาบละบาท บางครั้งก็ตักน้ำจนเต็มตุ่ม ได้แค่ 1 บาท ส่วนตัวครูเองก็นานๆทีถึงได้กลับบ้าน แต่ทุกวันนี้บ้านพักครูไม่ได้มีความสำคัญกลายเป็นบ้านร้างหมดแล้ว 
                บางทีการได้คุยกับคนที่อยู่คนละ Gen ก็ทำให้เกิดมุมมองความคิดอีกแบบหนึ่ง ยิ่งได้ฟังและคิดตามก็จะทำให้เพลิดเพลินไปได้อีก เพราะฉะนั้นการเล่าหรือการบอกต่อพูดคุยกันจากคนต่อคนจะดีกว่าการคุยกันผ่านอุปกรณ์สื่อสารเทคโนโลยีที่คนทุกวันนี้นำไปใช้เกินความจำเป็น

วันพฤหัสบดีที่  4 สิงหาคม 2559
วันนี้ต้องตื่นแต่เช้าเพื่อเดินทางจากบ้านมาที่มหาวิทยาลัยเพื่อร่วมงานสัมมนา โดยวันนี้มีหัวข้อว่า การออกข้อสอบโดยอิงเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งอาจารย์ที่เป็นวิทยากรเป็ฯศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยที่อยากจะมาให้ความรู้ เทคนิคในการออกข้อสอบที่จะวัดผู้เรียนได้จริง ซึ่งถ้าผู้ออกข้อสอบนไม่มีความซื่อสัตย์ออกข้อสอบที่ไม่ได้วัดตัวผู้เรียนจริง ก็ถือเป็นการทำบาปทางวิชาการซึ่งในช่วงเช้าเป็นการแลกเปลี่ยน ส่วนในช่วงบ่ายผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนต้องออกข้อสอบคนละ 5 ข้อ โดยตั้งสถานการณ์ 2 สถานการณ์สำหรับข้อสอบ 5 ข้อ ใช้เกณฑ์เดียวกับการออกข้อสอบ PISA

วันศุกร์ที่  5 สิงหาคม 2559
การสัมมนาในครั้งนี้ถือเป็นครั้งใหญ่พอสมควร เนื่องจากเป็นการสัมมนาระดับชาติที่ได้รับความร่วมมือจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี  มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด  และมหาวิทยาลัยนครพนม  และมีองค์ปาฐกที่มีความสำคัญในวงการการศึกษา และวงการวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็คือ ดร.อาจอง ชุมสาย  ณ อยุธยา ซึ่งเป็นการบรรยายโดยใช้เวลา 3 ชั่วโมงที่แสนเพลิดเพลิน มีการพักเบรกแค่ 15 นาที ผู้บรรยายยืนตลอดการบรรยาย มีการสอดแทรกแนวคิดในทุกรื่องของการบรรยายเพื่อให้ผู้ฟังที่มาจากหลายที่ได้ตระหนักถึงปัญหาการศึกษา ที่ควรจะช่วยกันแก้ไขเพื่อให้การศึกษาไทยก้าวข้ามการจัดการเรียนการสอนแบบเดิมๆ มีแนวทางของตนเอง ยืนได้ด้วยตัวเองเป็นหลัก ลอกเลียนแนวทางจากประเทศอื่นให้น้อยที่สุด และหลังจากการฟังบรรยาย ในช่วงบ่าย เป็นการเข้าห้อง work shop ทำกิจกรรมตามห้องต่างๆ ในส่วนการใช้สื่อการสอนเครื่องร่อน เป็นแนวทางการสอนวิทยาศาสตร์แบบสะเต็มศึกษา ในส่วนของคำว่า stem  ดร.อาจอง ได้ให้คำแนะนำว่าให้เพิ่มเติม จาก e: engeneering เป็น ethics ใส่จริยธรรม ให้ผู้เรียนด้วย  เพราะว่าการจัดการเรียนรู้แบบ สะเต็มศึกษา เราก็รับมาจากอเมริกา เราก็ควรจะนำมาปรับเปลี่ยนเอาความเป็นตัวเราใส่ลงไปเป็นการปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมให้เหมาะกับบริบททางการศึกษาของไทยเรา

วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2559
เคลียร์งานที่ค้าง ตรวจสอบความถูกต้องของงานที่ทำเสร็จไปแล้วบางส่วน ถ้าเรามีเวลาทำงานโดยไม่เร่งรีบจะทำให้เรามีเวลาในการแก้ไขงาน เพราะคงไม่มีใครทำอะไรได้สมบูรณ์แบบได้ในครั้งเดียวแต่การที่เรารู้จักเผื่อเวลาทำงานและมีเวลาแก้ไขด้วยจะทำให้งานของเรามีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2559

เป็นวันลงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ  ปี 2559 ซึ่งหลายคนก็ต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อมาใช้สิทธิ์ลงประชามติ แล้วในวันเดียวกันนี้ทุกคนก็ต้องเดินทางกลับเพื่อไปทำงาน ทำหน้าที่ของตนเอง เพราะฉะนั้นการเดินทาง ไม่ว่าจะโดยสารด้วยยานพาหนะใด ก็จะเจอความแออัด บนถนนรถก็ติด ในรถไฟก็แทบจะไม่มีที่ยืน เป็นการยืดเวลาของการเดินทางออกไปอีกในความรู้สึกด้วยความอึดอัดยัดเยียดในรถไฟ พอถึงโรงเรียนเราก็ได้รู้ว่าได้พลาดกิจกรรมดีๆที่โรงเรียนไปหลายๆอย่าง นี่ก็คงเป็นอีกบทเรียนหนึ่ง จากเหตุการณ์สำคัญ  2 อย่างที่ต้องเลือก เมื่อเราเลือกแล้วก็ต้องทำให้ดี สิ่งที่เราได้เลือกแล้วคือสิ่งที่เราต้องทำและยอมรับผลที่จะเกิดขึ้นได้
วันจันทร์ที่ สิงหาคม 2559
วันแรกของการเปิด Quarter2 ที่จะได้เจอนักเรียนใหม่ เป็นนักเรียนชั้น ป.เป็นเด็กกว่าเดิม เปิดวันแรกก็ยังอยู่ในการสังเกตอยู่ เนื่องจากการเตรียมแผนการสอนยังไม่ชัดเจนยังไม่ได้สอนเดี่ยว ต้องอยู่ในความดูแลของคุณครูประจำชั้น  สำหรับการทำกิจกรรมก็มีอุปสรรคอยู่บ้างเนื่องจาก จะถ่ายรูปเพื่อดูบรรยากาศในห้องเรียนแต่โทรศัพท์ก็รวน ทำอะไรไม่ค่อยได้หน้าจอค้างตลอด โชคดีที่รู้จักชื่อนักเรียนหมดแล้ว แต่สิ่งที่ต้องทำมากที่สุด คือ การเรียนรู้พวกเขาให้เร็วที่สุด เพื่อจะสามารถให้พวกเขาวางใจและสามารถเชื่อฟังในสิ่งที่แนะนำในเรื่องดีๆ และจากที่คุยกับคุณครูประจำชั้น ในสัปดาห์นี้คุณครูจำเป็นคนลำดับการสอนให้ ส่วนในสัปดาห์หน้าจะให้ทำการสอนเองในส่วนของวิชา PBL
วันอังคารที่ สิงหาคม 2559
เป็นวันที่ ในการเรียนรู้นักเรียนชั้นป.พยายามหาเทคนิคที่จะทำให้สามารถควบคุมชั้นเรียนได้ง่ายๆ จากทั้งที่คุณครูประจำชั้นสอนเอง และครูเวียนแต่ละวิชาที่เข้ามาสอน จากที่เคยอยู่ห้องป.6แนวทางการสอนสำหรับเด็กเล็กและเด็กโตก็จะมีความแตกต่างกัน และช่วงแรกๆนี้คำถามที่ได้ยินบ่อยสำหรับการย้ายห้องเรียน คือ เป็นไงบ้างอยู่ ป.3 ก็ไม่รู้จะตอบยังไง ก็เป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ทำในห้องเรียนก็ช่วยสอนเด็กๆทำแบบฝึกหัด ถ่ายรูปการทำกิจกรรมในบางครั้ง  ในส่วนของกิจกรรมจิตศึกษาที่ต้องถ่ายรูปลงบล็อกเพื่อเผยแพร่ ต้องถ่ายรูปให้เป็นขั้นตอนเห็นภาพรวมของกิจกรรม มี concept ที่ชัดเจน แต่ก็เกิดปัญหา ในตอนที่จะถ่ายขั้นเตรียม โทรศัพท์ก็ค้างก็เลยพลาดภาพในช่วงหนึ่งไป
วันพุธที่ 10 สิงหาคม 2559
ถึงแม้ว่าจะย้ายมาสอนช่วงชั้น แต่ก็ยังต้องสอนชุมนุม ช่วงชั้น ด้วย แต่ไม่ได้คุยกับคุณครูก็เลยไม่ได้เตรียมกิจกรรมการทดลองสำหรับสัปดาห์แรก ตอนแรกคิดว่าจะพาเด็กๆไปเก็บดอกอัญชันมาคั้นน้ำและบีบน้ำมะนาวใส่เพื่อดูการเปลี่ยนสีแต่พอเดินดูแล้วไม่มีดอกอัญชัน วันนี้ก็เลยใช้เป็นวันพบปะพูดคุยเพื่อการวางแผนในสัปดาห์ถัดไปแต่รู้สึกว่าเด็เขาไม่ค่อยอยากมีส่วนร่วม เขาพร้อมที่จะให้ครูหากิจกรรมมาให้เขาทำก็อยากให้เขาวางแผนกิจกรรมเองแต่ก็เป็นเรื่องที่ครูต้องมีการจัดการที่ดีเหมือนกัน กิจกรรมในส่วนของวันนี้จึงเป็นการเล่าเรื่องให้ฟัง เด็กๆจะชอบมากเรื่องผี ไม่ว่าเด็กชั้นไหนก็อยากฟังเรื่องผี ก็พยายามหาเรื่องมาเล่ามากมาย ซึ่งก็ไม่ได้เล่าให้เขากลัว แต่ก็สังเกตการแสดงออกเวลาฟังเรื่องเล่า การใช้เรื่องเล่าก็เป็นการสร้างความคุ้นเคยกับเด็ก และเป็นแนวทางการจัดการชั้นเรียนที่ดี แต่ต้องมีเทคนิค มีลูกเล่นในการเล่า
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2559
ในส่วนของวิชา PBL วันนี้ ครูแป้งให้นักเรียนสรุปสัปดาห์แล้ว เนื่องจากวันพรุ่งนี้เป็นวันหยุดวันแม่แห่ชาติ จากการสังเกตกระบวนการของสัปดาห์แรก ก็จะมีกระบวนการที่เหมือนกันกับ PBLช่วงชั้นอื่นๆ แต่ความแตกต่างคือวิธีการนำไปใช้ ในสัปดาห์แรกจะเริ่มต้นด้วยการสร้างแรงกระตุ้นในการเรียนรู้ ในส่วนของ ป.3ไม่ต้องสร้างแรงเยอะเพราะนักเรียนรู้อยู่แล้วว่าต้องเรียนเรื่องผ้าเนื่องจากเป็นการเรียนนต่อเนื่องจากPBLคู่ขนานการเลี้ยงหนอนไหม  ก็เริ่มการตั้งหัวข้อมาตั้งแต่วันจันทร์โดยมีการใช้เครื่องมือคิด Brain storm  แล้วก็ให้การบ้านเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้กับสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับผ้าแล้วมาแชร์กันเป็นกลุ่มที่โรงเรียน บางคนก็เขียนมา บางคนก็ไม่มี แล้วเอามาแชร์เป็น แล้วแต่ละกลุ่มก็เสนอ แต่ละคนเสนอ คุณครูก็ขึ้นกระดานให้ มีทั้งหมด 21 หัวข้อ พอดีกับจำนวนนักเรียน 21 คน แบ่งกันเขียนคนละ 1 หัวข้อ แล้วนำมาติดรวมกัน ซึ่งในการเขียนงานแต่ละครั้งพวกเขาก็จะช้าหน่อยเพราะมัวแต่เล่นกัน ก็จะต้องมีการกำหนดเวลาให้ชัดเจน  แล้ววันพุธกับวันพฤหัสบดีก็ไม่มีชั่วโมงในการเรียน  PBL สักเท่าไหร่ ก็ให้วลาในการทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ต้องใช้เวลาในการตกแต่งชิ้นงานและทำเป็นการบ้านด้วย ชุมนุมวิทยาศาสตร์วันนี้ เป็นการเจอกับนักเรียนครั้งแรก นักเรียนช่วงชั้น 1 แต่ก็อยากฟังเรื่องผีเหมือนกัน เล่าเรื่องเดียวกันกับที่เล่าให้ช่วงชั้น ฟังแต่ระดับของการกลัวก็จะแตกต่างออกไป เด็กๆก็จะกลัวกว่า แต่เวลาเล่าก็ให้เขาได้คิดและสนุกไปด้วย ตอนที่เล่าเรื่องผีเปรต ปากเท่ารูเข็มไม่สามารถพูดได้ส่งเสียงหวีดร้องได้อย่างเดียว เพราะแต่ก่อนตอนที่พูดได้ เขาพูดแต่คำหยาบ พอตายไปเป็นเปรตก็เลยพูดไม่ได้ เด็กๆเขาก็เลยบอกว่าพี่หนูต้องเปรต แน่เลย เพราะพี่ชอบพูดคำหยาบ ซึ่งสามารถวัดได้เลยว่าเขาตั้งใจฟังและคิดตาม กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งในวันนี้คือทำกิจกรรมจิตศึกษา ซึ่งโจทย์ในวันนี้เป็นศิลปะและดนตรี ใช้เวลาในการคิดนานมาก ปรึกษาคุณครูหลายคน และได้กิจกรรมติดเศษผ้าลงบนเสื้อกระดาษพับ เนื่องจากพี่ป.3เรียนเรื่องผ้าก็เลยใช้เรื่องที่เกี่ยวข้อง
วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2559 (หยุดวันแม่แห่งชาติ)
เริ่มต้นวันดีๆด้วยการทำบุญตักบาตรที่วัดกวางงอยและร่วมปลูกต้นไม้ในบริเวณวัด หลายๆคนก็กลับบ้าน แต่คนที่งานไม่เสร็จก็ต้องเคลียร์ให้เสร็จ เหมือนกับคนที่กำลังอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ในตอนนี้ และสโลแกนของโรงเรียนนี้ก็คือไม่มีวันที่งานจะลดลง ถ้างานเก่าไม่เสร็จก็ไม่ควรชะล่าใจ เพราะงานใหม่ก็ยังรออยู่ถึงแม้ไม่มีงานใหญ่เข้ามาแต่ก็จะมีงานยิบย่อยเข้ามาเสมอเพื่อให้ได้ฝึกตนเอง ช่วงเวลาของการฝึกสอนจึงเป็นช่วงของการฝึกตนเองมากที่สุด มีคนได้กล่าวไว้  งานเล็กๆน้อยๆก็ไม่ควรให้ค้างมีอะไรที่พอทำได้ก็ทำ งานตัวเองอาจจะไม่อยากทำเท่าไหร่ ก็ช่วยงานเพื่อนก่อน ก็ช่วยวาดรูปตกแต่งตารางเรียนเสร็จไป 4 ชิ้นงาน เป็นการตกแต่งเล็กๆน้อยๆ แต่ศิลปะเหล่านั้นทำให้ได้ฝึกมากที่สุด อยากน้อยก็ช่วยกระตุ้นต่อมขยันขึ้นมาบ้าง สรุปว่าวันนี้งานคนอื่นก็เสร็จไป
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม 2559
วันหยุดวันที่ วันนี้นัดส่งแผน PBL กับคุณครูในตอนบ่าย ซึ่งแผนนั้นควรจะเสร็จตั้งแต่ยังไม่เปิดเทอม ก็เนื่องจากเป็นแผนเก่าจึงไม่รู้จะไปปรับอะไร ปรับได้นิดๆหน่อยๆ ก็ทำเสร็จนานแล้วรอตรวจอย่างเดียว แต่ที่ต้องทำเพิ่มคือ แผนจิตศึกษา สัปดาห์ ถ้าไม่จวนตัวจริงก็คิดไม่ออก วันนี้ใช้เวลาตั้งแต่ 9 โมงเช้า ถึง เที่ยงในการคิดกิจกรรมจิตศึกษาสำหรับวันจันทร์ถึงวันศุกร์ทั้งหมด สัปดาห์ อีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อนหน้านี้ยังคิดกิจกรรมไม่ออกเพราะเรายังไม่รู้จักผู้เรียน เราต้องดูแนวทางในการดำเนินกิจกรรมกับนักเรียนในชั้นนั้นๆก่อน เพื่อจะได้ปรับกิจกรรมสำหรับพวกเขาถึงแม้เราจะเห็นเขาในมุมเล่น ในขณะที่เดินผ่านไปมาแต่อีกบริบทที่อยู่นห้องเรียนก็จะมีความต่างออกไป เพราะฉะนั้นก็เชื่อได้เลยว่า การเรียนรู้ตัวตนของผู้เรียนและการเข้าถึงตัวตนเขาจริงๆเป็นเรื่องสำคัญและอยากเหมือนกัน
วันอาทิตที่ 14 สิงหาคม 2559


ทุกๆอย่างที่เกี่ยวข้องกับงานที่ต้องใช้ความคิด แม้เล็กๆน้อยก็มีความสำคัญ ห้องพักหลับนอนที่ดูรกเกินไป สำหรับบางคนก็เป็นอุปสรรคและเนื่องจากวันนี้ก็ควรจะได้ผ่อนคลายบ้างเพราะทำงานมาสองวันแล้ว วันนี้เลยผ่อนคลายโดยการจัดห้อง ทำความสะอาด แล้วประมาณช่วงบ่ายๆ ก็เข้าไปที่โรงเรียน ดูความเรียบร้อยของห้องเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนการสอนสำหรับวันจันทร์ช่วยคุณครูประจำชั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น